084-429-2924

รู้หรือไม่ว่า อันที่จริงแล้วเมนูร้านอาหารมีการแบ่งประเภทด้วย อย่างเมนูที่เราสามารถเลือก Appetizer (อาหารรองท้อง) หรือ Dessert (ของหวาน) อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นจะเรียกว่าเมนูแบบ Table d’Hote ส่วนเมนูที่เราเห็นกันทั่วไป จะเป็นแบบ Static Menu นั่นเอง เดี๋ยววันนี้ Bag.in.th จะมาแนะนำเกี่ยวกับประเภทของเมนูให้รู้จัก และทำไมต้องเลือกปกเมนูแบบหนังให้ร้านอาหารของคุณ

ประเภทของปกเมนู

ตัวอย่างเมนูอาหาร

1. Static Menu

จะเป็นเมนูร้านอาหารที่ค่อนข้างสะดวกทั้งสำหรับร้านอาหารและลูกค้า เพราะเป็นเมนูที่รวบรวมรายการอาหารไว้ในหมวดหมู่ที่แบ่งออกอย่างชัดเจนทำให้หารายการอาหารได้ง่าย ตัวอย่างเช่น รายการเครื่องดื่มจะมีแบ่งออกเป็นรายการไวน์ รายการเบียร์ รายการเครื่องดื่มกาแฟเป็นต้น และข้อดีของเมนูประเภท Static คือเป็นเมนูร้านอาหารที่มีรายการอาหารเยอะสามารถรวมเมนูประเภท Du Jour และ Cycle เข้าไปได้ ซึ่งลูกค้าก็จะมีตัวเลือกมากขึ้น

2. A La Carte Menu

สำหรับคำว่า A La Carte เรามักจะนำไปพ่วงกับคำว่า Buffet และเข้าใจว่า A La Carte คือจานเดี่ยว ซึ่งก็ไม่ผิด A La Carte มาจากภาษาฝรั่งเศสมีความหมายแปลว่า การสั่งอาหารที่มีอยู่ในเมนูได้ตามใจชอบ โดยไม่ต้องสั่งเป็นชุดตามที่ร้านอาหารจัดไว้ สำหรับคนในฝั่งตะวันออก อาจจะไม่ค่อยเข้าใจว่ามันจะต่างกันอย่างไรกับเมนูปกติ นั่นเพราะว่าเมนูของทางฝั่งตะวันตกมักมีรายการอาหารเป็นชุดจัดไว้ให้ เพราะฉะนั้นการจะเข้าใจว่า A La Carte เป็นจานเดี่ยวก็ไม่ผิด แต่ถ้าให้เข้าใจอย่างเต็มร้อย จะหมายถึงรายการที่สามารถสั่งเดี่ยวๆได้ ซึ่งจริงๆแล้วคำว่า A La Carte ไม่ได้มีการใช้สำหรับอุตสาหกรรมร้านอาหารเท่านั้น อุตสาหกรรมอื่นๆที่มีรายการสินค้าให้ลูกค้าเลือกสั่งซื้อแบบเซ็ตหรือแบบเดี่ยวได้ก็เรียกว่า A La Carte เช่นกัน

ป้ายเมนูอาหาร

3. Du Jour Menu

Du Jour เป็นคำศัพท์จากภาษาฝรั่งเศสที่แปลได้ประมาณว่า “ของวันนี้” โดยสำหรับเมนูร้านอาหารแบบ Du Jour นั้น หมายถึงเมนูอาหารของวันนี้ อย่างร้านอาหารในประเทศแทบตะวันตกมักจะมีเมนู Soup of the day ซุปของวันนี้ โดยในแต่ละวันจะเปลี่ยนรายการไปเรื่อยๆขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่มีและความถนัดของเชฟนั่นเอง ข้อเสียของเมนูแบบ Du Jour คือการที่จะต้องมีเมนูใหม่ทุกๆวัน ร้านอาหารจึงแก้ปัญหาโดยการใช้บอร์ดดำเขียนไว้ และให้พนักงานเป็นคนเสนอลูกค้าเอง

4. Cycle Menu

เมนูแบบ Cycle คือเมนูที่มีรายการอาหารที่หมุนเวียนอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารเคลื่อนที่ Food truck ที่สร้างเอกลักษณ์โดยการหมุนเวียนรายการอาหารในแต่ละวันเพื่อดึงดูดลูกค้าได้หลากหลาย จะแตกต่างกับ Du Jour ตรงที่ Du Jour จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกวันและไม่ซ้ำกัน แต่เมนูแบบ Cycle คือการหมุนเวียนรายการอาหารที่แน่นอนของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

5. Fixed Menu

เมนูอาหารแบบ Fixed หรือที่เรามักเรียกกันว่า เซ็ตเมนู คือเมนูอาหารแบบ Full course ที่จะมีรายการที่แน่นอนตั้งแต่ Starter ไปจนถึง Dessert สำหรับเมนูแบบ Fixed จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือแบบ Prix Fixe Menu และแบบ Table d’hôte

แบบ Prix Fixe จะเป็นเมนูที่ตั้งราคาไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนแบบ Table d’hôte คือ มีบางรายการที่สามารถจ่ายเพิ่มเพื่อเปลี่ยนแปลงรายการได้ ถ้าให้เข้าใจแบบง่ายที่สุดก็สามารถเปรียบเสมือนเมนูในร้าน Fast Food ที่มี Combo Set และมี Up size ได้นั่นเอง

เลือกใช้เมนู ให้เหมาะสมกับรูปแบบร้านอาหารของคุณ

นี่จะเป็นเมนูอาหารโดยทั่วไปที่เราจะเห็นกันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเลือกใช้เมนูประเภทไหนก็ตาม ก็ต้องให้เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินการของร้านอาหาร แต่นอกจากการจัดเรียงรายการอาหารที่สำคัญแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ปกเมนู การเลือกปกเมนูให้ถูกและเหมาะสมกับร้านอาหาร จะช่วยสร้าง First Impression ที่ดีให้กับลูกค้าได้ สามารถศึกษาวิธีเลือกปกเมนูได้จากบทความ “เลือกปกเมนูร้านอาหาร อย่างไรให้ปวดหัวน้อยที่สุด”

หากต้องการสร้าง First impression ที่ดีต้องเลือกปกเมนูหนังที่หรูหราอย่างแน่นอน ซึ่งปกเมนูของทาง Bag.in.th จะแตกต่างกับแฟ้มเมนูตรงที่ คุณสามารถเลือกรูปแบบปกเมนูเองได้ตั้งแต่ วิธีของการเข้าเล่ม ซองไส้ข้างในเมนู และที่สำคัญ สามารถปั๊มโลโก้ลงปกเมนูอาหารได้ทั้งแบบจมเปล่าหรือจมแบบลงสีทองก็ได้ นอกจากนี้ Bag.in.th เองยังเป็นผู้ผลิตที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนี้มายาวนานกว่า 50 ปี เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาให้เหมาะสมกับงบประมาณของคุณ สามารถติดต่อได้ที่ 084-429-2924 หรือ LINE @bag.in.th คลิกเพื่อเพิ่มเพื่อน